ระบบมอนิเตอร์ริ่งโซลาร์เซลล์ Monitoring AIPM
บำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์
โซลาร์ฟาร์ม Solar Farm
Rapid Shutdown มาตรฐานติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์
Optimizer กับระบบโซลาร์เซลล์
ประโยชน์ของการติดตั้งโซลาร์เซลล์
เลือกแผงโซลาร์เซลล์ แบบไหนดี
เลือกอินเวอร์เตอร์สำหรับติดตั้งโซลาร์เซลล์
ขอใบอนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์
คำนวณค่าไฟฟ้าก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์
ใช้สิทธิ BOI ลดภาษีจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์
ประวัติความเป็นมาของโซลาร์เซลล์ Solar Cell
ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) โดย แชปปิน (Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller) และเพียสัน (Pearson) แห่งเบลล์เทลเลโฟน (Bell Telephon) โดยทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ พี-เอ็น (P-N) แบบใหม่ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิกอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์อันแรกของโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6% ซึ่งปัจจุบันนี้เซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 15% แล้ว ในระยะแรกเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรในอวกาศ ก็ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังไฟฟ้า ต่อมาจึงได้มีการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกเช่นในปัจจุบันนี้ เซลล์แสงอาทิตย์ในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่จะมีสีเทาดำ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้เซลล์แสงอาทิตย์มีสีต่าง ๆ กันไป เช่น แดง น้ำเงิน เขียว ทอง เป็นต้น เพื่อความสวยงาม
ประเภทของเซลล์แสงอาทิตย์
เซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน จะแบ่งตามลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น คือ
- แบบที่เป็นรูปผลึก ( Crystal ) จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอน ( Mono Crystalline Silicon Solar Cell)
- ชนิดผลึกรวมซิลิคอน ( Poly Crystalline Silicon Solar Cell)
- แบบที่ไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous) คือ ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน
( Amorphous Silicon Solar Cell )
2. เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน
- จะเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 25% ขึ้นไป แต่มีราคาสูงมาก ไม่นิยมนำมาใช้บนพื้นโลก จึงใช้งานสำหรับดาวเทียมและระบบรวมแสงเป็นส่วนใหญ่ แต่การพัฒนาขบวนการผลิตสมัยใหม่จะทำให้มีราคาถูกลง และนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต ( ปัจจุบันนำมาใช้เพียง 7 % ของปริมาณที่มีใช้ทั้งหมด )
หลักการทำงานทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์
เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว จะให้กระแสไฟฟ้าประมาณ 2-3 แอมแปร์ และให้แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิด 0.6 โวลต์ เนื่องจากกระแสและแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ไม่มากนัก ดังนั้นเพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้ามากเพียงพอสำหรับใช้งาน จึงมีการนำเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆเซลล์มาต่อกัน เรียกว่าแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Modules) ลักษณะการต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นอยู่ว่าต้องการกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า
- การต่อแผง โซลาร์เซลล์ แบบขนาน จะทำให้ได้กระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
- การต่อแผง โซลาร์เซลล์ แบบอนุกรม จะทำให้ได้แรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น
คุณสมบัติและตัวแปรที่สำคัญของเซลล์แสงอาทิตย์
1. ความเข้มของแสง
กระแสไฟจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มของแสง หมายความว่าเมื่อความเข้มของแสงสูงกระแสที่ได้จาก โซลาร์เซลล์ ก็จะสูงขึ้น ในขนะที่แรงดันไฟฟ้าหรือโวลต์จะไม่แปรไปตามความเข้มของแสงมากนัก ความเข้มของแสงที่ใช้วัดเป็นมาตรฐาน คือ ความเข้มของแสงที่วัดบนพื้นโลกในสภาพอากาศปลอดโปร่ง ปราศจากเมฆหมอกและวัดที่ระดับน้ำทะเลในสภาพที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ้งความเข้มของแสงจะมีค่าเท่ากับ 1,000 W ต่อ ตร.เมตร
2. อุณหภูมิ
กระแสไฟ จะไม่แปรตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่แรงดันไฟฟ้าจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วทุก ๆ 1 °C ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง 0.5% มาตรฐานที่ใช้กำหนดประสิทธิภาพของแผง Solar Cell คือ ณ อุณหภูมิ 25 °C เช่น กำหนดไว้ว่าแผง โซลาร์เซลล์ มีแรงดันไฟฟ้าที่วงจรเปิด หรือ Voc ที่ 21 V ณ อุณหภูมิ 25 °C ก็จะหมายความว่า
- แรงดันไฟฟ้าที่จะได้จากแผง โซลาร์เซลล์ เมื่อยังไม่ได้ต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ณ อุณหภูมิ 25 °C จะเท่ากับ 21 V
- ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 25 °C เช่น อุณหภูมิ 30 °C จะทำให้แรงดันไฟฟ้าของแผง โซลาร์เซลล์ ลดลง 2.5% (0.5% x 5 °C ) นั่นคือ แรงดันของแผงที่ Voc จะลดลง 0.525 V (21 V x 2.5%) เหลือเพียง 20.475 V (21V – 0.525V)
- สรุปได้ว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นแรงดันไฟฟ้าก็จะลดลงซึ่งมีผลทำให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดของแผง โซลาร์เซลล์ ลดลงด้วย
การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก